1 ADOSPHÈRE : INTRODUCTION MÉTHODOLOGIQUE Adosphère เป็นสื่อการเรียนสําหรับวัยร
1 ADOSPHÈRE : INTRODUCTION MÉTHODOLOGIQUE Adosphère เป็นสื่อการเรียนสําหรับวัยรุ่น มี 4 เล่ม เล่ม 1-3 ครอบคลุมเนื้อหาตามมาตรฐานทางภาษา ของสภายุโรป CECRL เพื่อการสอบ DELF A1 A2 ผู้เขียนแบบเรียนชุดนี้ คาดหวังว่า หนังสือแต่ละเล่มจะใช้ เวลาเรียนประมาณ 50-60 ชั่วโมงเท่านั้น แต่สําหรับการสอนภาษาฝรั่งเศสในประเทศไทย ซึ่งมีลักษณะเป็นสาระ การเรียนรู้เพิ่มเติม จัดให้มีการสอน 1-2 หน่วยการเรียน คือ 2 คาบ หรือ 4 คาบต่อสัปดาห์ การใช้สื่อการเรียนชุดนี้ สําหรับการจัดการสอน 2 คาบต่อสัปดาห์ หนึ่งปีจะใช้ เวลาเรียนจํานวนประมาณ 70 คาบ สําหรับการจัดการสอน 4 คาบต่อสัปดาห์ ปีหนึ่ง ๆ ก็จะมีเวลาเรียนประมาณ 140 คาบ ดังนั้น การที่จะใช้สื่อชุดนี้ ถึงเล่มใด จึงขึ้นอยู่กับ สภาพการเรียนการสอนของแต่ละโรงเรียน อย่างไรก็ตาม ระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทยคงไม่จําเป็นต้องเรียน ไปถึง Adosphère 4 ซึ่งจะเป็นการเรียนทบทวนเนื้อหาทั้งหมดของการสอบ A2 และเตรียมการสอบ B1 สําหรับ ผู้ที่จะไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย การเรียนการสอนด้วยสื่อการเรียนชุด Adosphère เป็นการเรียนภาษาฝรั่งเศสโดยนํานักเรียนเข้าไปสู่ โลกของวัยรุ่น ตัวบทเรียนจึงเป็นการพบและทําความรู้จักกับวัยรุ่นฝรั่งเศส ชายและหญิงรวม 8 คนที่จะคุยกัน ในเรื่องที่ตนชอบ ประสบการณ์ ความคิดเห็น แลกเปลี่ยนภาพ และข้อมูลข่าวสารที่ตนประทับใจ แบบเรียนแบ่งออกเป็น 8 modules แต่ละ module เป็นชื่อของวัยรุ่น เช่น Lucille, Xavier, Lise et Léa, Loïc, Imane, Oscar, Alice, Samuel แต่ละโมดุลแบ่งย่อยออกเป็น 4 Leçons คือ Leçon 1 : Moi et les autres Leçon 2 : Ma page perso , Leçon 3 : Mes découvertes และLeçon 4 Ma page culture เนื้อหา แบบฝึกหัด วิธีสอนของทั้ง 8 โมดุล สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการ เรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วย 4 สาระ (Strands) คือ สาระที่ 1. ภาษาเพื่อการสื่อสาร (Communications) จะเห็นได้จาก ตารางการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในคู่มือครู หน้า 14 Apprendre à : saluer, dire son nom et demander le nom de quelqu’un, dire ce qu’on aime et ce qu’on déteste, etc. พร้อมทั้งแบบฝึกทางภาษาในรูปของภาระงาน (tâches) เป็นชิ้น ๆ เช่น faire connaissance avec de nouveaux copains, fabriquer une affiche pour présenter sa bande de copains, réaliser une enquête sur les sacs des garçons et des filles การทําแบบฝึกที่เป็นภาระงาน (tâches) ไม่ใช่ แบบฝึกหัดชนิดให้เปลี่ยนเอกพจน์เป็นพหูพจน์ หรือเปลี่ยนเพศชายเป็นเพศหญิงแต่เป็นแบบฝึกที่ประกอบด้วย ความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ การใช้ภาษาเพื่อสื่อสารโดยผ่านตัวละครซึ่งเป็นวัยรุ่น มีทั้งการสื่อสารเรื่องของ 2 ตนเอง la sphère privée (moi) การสื่อสารในสังคม la sphère sociale (moi et les autres, les copains et les copines) และการสื่อสารในโลกกว้าง la sphère publique (<ฉัน> และโลก รวมทั้งสิ่งที่ฉันชอบทํา ฉัน สนใจ และฉันอยากรู้อยากเห็น ฉันใฝ่ฝัน เป็นการสื่อสารที่เริ่มจากตนเองออกไปสู่โลกกว้าง สาระที่ 1 นี้ จึง สัมพันธ์กับสาระที่ 4 อย่างชัดเจน สาระที่ 2. ภาษาและวัฒนธรรม (Cultures) การสอนภาษาเพื่อการสื่อสารด้วยการใช้ actes de parole ควบคู่กับ การทํากิจกรรมที่จะนํา actes de parole ไปใช้ในสถานการณ์ที่สมจริง การสอนหลักการใช้ภาษาหรือไวยากรณ์ จะ เรียงลําดับจากง่ายไปหายาก หรือจากขั้นพื้นฐานไปสู่ขั้นสูงขึ้นและยากขึ้นตามลําดับ พร้อมทั้งฝึกการออกเสียง ศึกษาวัฒนธรรมของประเทศฝรั่งเศสและประเทศที่พูดภาษาฝรั่งเศส (francophones) และเปรียบเทียบกับ วัฒนธรรม ของนักเรียนด้วย สาระที่ 3. ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น (Connections) ชุดการเรียนการสอน Adosphère ได้จัดทําเนื้อหาบูรณาการการใช้ภาษาฝรั่งเศส กับการเรียนรู้วิชาอื่น ๆ อย่างชัดเจนมาก เช่น บูรณาการกับวิชา คณิตศาสตร์ วิชาคอมพิวเตอร์ วิชาศิลปะ วิชาพลศึกษา และแม้แต่กับวิชาหน้าที่พลเมือง สาระที่ 4. ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนโลก (Communities) นักเรียนสามารถนําประสบการณ์ทางภาษาและ วัฒนธรรรมจากการเรียนรู้ไปใช้ตามสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในโรงเรียน ในบ้าน ในชีวิตประจําวัน ในสังคม ใน ประเทศและต่างประเทศ เริ่มจากตนเองไปสู่การติดต่อกับโลกภายนอก ADOSPHÈRE, des choix méthodologiques การเลือกวิธีการสอนซึ่งเป็นเจตนารมณ์ของ ผู้เขียน แบบเรียน การเรียนภาษาฝรั่งเศสด้วยสื่อการสอนชุดนี้ จะใช้วิธีการสอนโดยการนําเข้าสู่โลกของวัยรุ่นที่มีการพัฒนาการใน มิติต่างๆ ผ่านตัวละครชาย-หญิง 8 คน แต่ละคนจะเสนอโลกที่อยู่รอบตัวของตน นําไปสู่การใช้ภาษาในการ สื่อสาร ตามที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น ในบทเรียนเริ่มต้น Module 0 เป็นการนําเสนอให้รู้จักกับตัวละครแต่ละคน เขาจะพูดถึงตัวเอง เพื่อนของเขา รสนิยม งาน ประสบการณ์ ดนตรีที่ชอบ บทความ ข่าวที่เขาประทับใจ ภาพถ่าย ซึ่งจะเป็นสื่อการเรียนที่กระตุ้น ความสนใจวัยรุ่น - Lucille มีเพื่อนหลายคน เช่น Lise et Léa คู่ฝาแฝด และ Imane เธอจะอยู่กับแก๊งค์เพื่อนชาย-หญิงของเธอ เสมอ เธอเป็นสมาชิกกลุ่มที่ชอบแลกเปลี่ยนภาพถ่ายทางอินเตอร์เน็ตและชอบอวดว่ามีอะไรในกระเป ๋า 3 - Xavier เป็นแฟนวีดิโอเกมและอินเตอร์เน็ต เขาจะเสนอตัวละครที่เขาสร้างขึ้นด้วยโปรแกรมและพูดถึงรสนิยม ของเขา - Lise et Léa เป็นฝาแฝด ทั้งสองคนชอบงานศิลปะ งานครีเอทีฟ และชอบเสื้อผ้าแฟชั่น ฝาแฝดทั้งสองจะพูดถึง ความเหมือนกันและความต่างกันของเขา - Imane อาศัยอยู่ที่ปารีส เขต 13 (ซึ่งเป็นถิ่นที่มีคนต่างชาติอยู่มาก) เธอรักเขตที่เธออาศัยมาก เธอจะพูดถึงถิ่นที่ เธออยู่ การเดินทาง และการเคารพกฏการจราจร - Oscar ชอบดนตรี ชอบจัดงานเทศกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานเป็น ดี เจ และงานวันเกิดของเขา - Alice ชอบการเดินทางไกลไปยังประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสกับครอบครัวของเธอ เธอได้ไปเที่ยว เกาะ la Réunion le Sénégal, le Québec ซึ่งเป็นประเทศของตากับยายของเธอ เธอชอบจดบันทึกประจําวัน - Samuel รักธรรมชาติและสัตว์เลี้ยง จะพูดถึงสัตว์ที่เขาชอบมาก และ เขาอยากจะตั้งชมรม <รักธรรมชาติ> Club nature กับเพื่อน ๆ ของเขา ADOSPHÈRE, la méthodologie แนวการสอนยึดหลัก Une perspective actionnelle ซึ่งเป็นการสอนแบบระบบฝึกปฏิบัติการทางภาษาตามที่ สภายุโรปกําหนด จึงมีแบบฝึกปฏิบัติมาก เพื่อพัฒนาทักษะทั้งสี่ในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร โดยวางพื้นฐาน ความสามารถเฉพาะตัว (compétence individuelle) ให้เกิดในตัวนักเรียน และทักษะการเชื่อมโยง (compétences transversales) หรือการบูรณาการภาษาฝรั่งเศสกับวิชาต่าง ๆ อันจะเห็นได้ในการให้ทํากิจกรรม ภาระงาน (des tâches) ทีหลากหลาย ซึ่งเป็นการฝึกคิดอย่างมีวิจารณญาณ ฝึกการแก้ปัญหา ให้ทํากิจกรรมกลุ่ม เป็นส่วนใหญ่ ในตอนท้ายของ 3 โมดุลคือใน leçon 1 2 และ 3 จะมีภาระงาน ( une tâche ) เป็นชิ้น มอบหมายให้นักเรียนดําเนินการ ภาระงาน (des tâches) จะมีหลากหลาย เช่น faire un sondage, créer un personnage de jeu vidéo, écrire une annonce et y répondre, réaliser le trombinoscope de la classe (ทําเนียบเพื่อนร่วมชั้นเรียนโพ้สต์รูป และข้อมูลส่วนตัวของเพื่อน ในห้องเรียนเหมือนในเฟซบุ้ค) créer des vêtements originaux, réaliser une brochure sur un sport, interviewer un sportif, faire visiter son quartier, jouer au jeu du code de la rue, inviter ses copains à une fête, imaginer une super journée d’anniversaire, organiser une fête, donner des nouvelles de sa famille, écrire un journal de voyage, réaliser un dépliant touristique sur un pays, organiser ses vacances, créer un club nature, créer une fiche sur son animal préféré et jouer à un quiz sur les animaux. 4 นอกจากนี้แต่ละโมดุลจะมีภาระงาน (une tâche) ที่ต่อยอดไปยังการเขียนในสมุดแบบฝึกหัด (cahier d’activités) ซึ่งเรียกว่า le Dossier perso เป็นการบ้านให้นักเรียนทําเองเพื่อฝึกความแม่นยําในการใช้ภาษา บทเรียนรวม 8 โมดุล จะมี 8 ภาระงาน (tâches) พร้อมทั้งให้กรอบหรือแนวทางในการทําแต่ละกิจกรรมที่เรียกว่า un canevas de production นักเรียนจะสะสมกิจกรรมที่ตนเองสร้างขึ้นซึ่งเป็นการเขียน มีภาพประกอบ จัดแสดงเป็นผลงานรวม ของห้องเรียนได้ บทเรียนแต่ละบท จะเป็น”หน้าคู่” (double page) โดยมีตัวบทเรียนอยู่ทางซ้ายมือ และแบบฝึกทักษะต่างๆ อยู่ทางขวามือ ทําให้การเรียนและการฝึกปฏิบัติ ทําได้อย่างต่อเนื่อง เช่น การฝึก expression orale en interaction et en continue (การพูดอย่างมีปฏิสัมพันธ์ หรือการถาม-ตอบ และการพูดอย่างต่อเนื่อง แบบให้แนะนําตัวว่าเป็น ใครอยู่ที่ไหนทําอะไร พูดโต้ตอบต่อเนื่องไปจนจบ) compréhension orale (ฝึกความเข้าใจในการฟัง) expression et compréhension écrite (การอ่านและการเขียนจากเรื่องที่อ่าน) ทั้งตัวบทเรียนและแบบฝึก จะเป็นเรื่องที่สนุก และเร้าความสนใจของวัยรุ่น ผู้จัดทําแบบเรียนได้ยึดหลักพัฒนาการทางภาษาจากง่ายไปหายาก ตามที่สภายุโรป CECRL (Cadre européen commun de référence pour les langues) กําหนดไว้ พร้อมทั้งวางแนวทางใน เตรียมการสอบ DELF เพื่อวัดมาตรฐานสากล (Diplômed’études en langue française) การพัฒนาทักษะทางการสื่อสารของแบบเรียนชุดนี้ ใช้องค์ประกอบทางภาษา เช่น phonétique, lexique, grammaire, communication โดยให้ความสําคัญในการเรียนหลักภาษาและการฝึกเพื่อการผนึกความจําอย่างเป็น ระบบ (systématisation) ด้วยกิจกรรมที่สนุกและมีปฏิสัมพันธ์กัน การพัฒนาทักษะการฟัง compréhension oral ก็ให้ความสําคัญมาก เช่น ให้ฟังเสียงธรรมดา ฟังเสียงตัวอักษร ไปจนถึงการฟัง documents <authentiques> (สื่อบันทึกเสียงจริงเช่น การสัมภาษณ์ การพยากรณ์อากาศ) การฝึกออกเสียง phonétique ก็จะเป็นการฝึกใน บริบท ไม่ใช่ออกเสียงเป็นคํา ๆ ลอย ๆ คําศัพท์ที่เรียน รวมทั้งเพลง ก็จะมีบันทึกเสียงให้นักเรียนฟังทบทวนเอง ได้ เพื่อผนึกความจําด้านคําศัพท์ ในตอนท้ายหน้าหนังสือเรียน จะมีคําเตือนเป็นระยะ ๆ เพื่อให้นักเรียนเปิดดู คําศัพท์ซึ่งมีภาพประกอบ (lexique illustré) จํานวน 150 คํา ทั้งนี้ เพื่อให้บรรยากาศก่อนเริ่มเรียนคึกคัก ไม่เงียบเหงา นักเรียนมีส่วนร่วมในการ เรียน กล้าพูด กล้าบอกสิ่งที่ตนรู้ หรือเพื่อฝึกโครงสร้างใหม่ทางภาษาแบบมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ ในห้องเรียน การเลือกหัวข้อเรื่อง ที่เหมาะกับวัยของนักเรียน รวมทั้งการเลือกสื่อหรือเอกสารประกอบบทเรียน จะทําให้ นักเรียน เกิดแรงกระตุ้น เกิดความสนใจในการเรียน และเปิดโลกทัศน์ไปสู่โลกภายนอก 5 การฝึกทักษะทั้งสี่ทางภาษา (les quatre compétences) หนังสือเรียนเล่มนี้ใช้สื่อและกิจกรรมที่หลากหลายในการฝึก ทักษะให้นักเรียนสามารถเข้าใจ และใช้ภาษาในการสื่อสาร โต้ตอบได้ หรือพูดอย่างต่อเนื่องได้ รวมทั้งการเขียนจดหมายแบบ ส่วนตัว หรือ การเขียนที่เป็นทางการ แยกลักษณะของสื่อและกิจกรรมได้ ดังนี้ - Typologie de documents d’accroche pour écouter (รูปแบบของสื่อการฟัง) : conversations <authentiques> de la vie de tous les jours, interviews, conversations téléphoniques, extraits d’émissions de radio, de jeux, de témoignages, audio-guide de musée, (เครื่องฟังการนําชมพิพิธภัณฑ์), chanson - Typologie de documents d’accroche pour lire (รูปแบบของสื่อการอ่าน) : petites annonces, forums, méls (courriel/e-mail) :, invitations, articles d’actualité, reportage, affiches, concours, panneaux, documents informatifs, brochure touristique, lettres, jeux, etc. - Typologie d’activités pour parler en interaction (รูปแบบของกิจกรรมการพูดแบบมีปฏิสัมพันธ์ให้ฝึกพูด): lors de la production de dialogues, de jeux de rôles à plusieurs, lors de travaux de groupe pour produire un écrit, réaliser un projet ou une tâche. - Typologie d’activités pour parler en continu (รูปแบบการพูดต่อเนื่อง) : parler de soi de manière courte, témoigner de ses expériences de vie quotidienne. - Typologie d’activités pour écrire (รูปแบบของกิจกรรมการเขียน) : ในชุดการเรียนเล่ม 1 ให้ความสําคัญแก่การฟัง และการพูดมากกว่าการเขียนเพราะเพิ่งเริ่มเรียน l’écrit prend une place moins importante que l’oral dans les compétences à acquérir à cet âge et à ce niveau. Cependant, il est présent pour : mémoriser l’orthographe et faire la distinction entre oral et écrit, présenter des parsonnages et en parler, remplir des formulaires, écrire des méls, des invitations, etc. Compétences extra-linguistiques (ทักษะที่เสริมสมรรถภาพทางภาษา) sont au centre de l’apprentissage afin d’accompagner l’élève dans sa vie scolaire, dans sa vie de citoyen et dans la découverte d’une nouvelle culture par l’intermidiaire de l’apprentissage de la langue. Compétence culturelle (ทักษะด้านวัฒนธรรมและอารยธรรม) L’approche de la culture et de la civilisation propose une ouverture sur le monde. La culture est présente en contexte, au fil des leçons, par l’intégration de références culturelles au sein des documents d’accroche et par des questions permettant d’éveiller la curiosité culturelle des élèves sur les différentes thèmes. เช่น faire la bise, le poisson d’avril, les pays francophones, etc. แต่ละโมดูลจะมีหน้า <culture> เช่น aspect de la France ou de la francophonie ที่ สัมพันธ์กับหัวข้อที่เรียน วัฒนธรรมที่เป็นสากล เช่น les salutations, les symboles de la France, des tableaux français, le tour de France, Paris à vélo, faire la fête en France, la journée internationale de la francophonie, les animaux de compagnie. Compétences transversales (ทักษะการเชื่อมโยง) จะมีอยู่ในทุกบทเรียน pour développer des compétences extrascolaires telles que les compétences citoyennes, sociales, d’autonomie et d’initiative personnelle, d’hygiène et santé (การมีสุขภาพอนามัย), la compétence artistique, numérique (ไอที) et mathématique, de repéra(การสังเกตคําสําคัญ) par l’intermédiaire des activités et des tâches proposées. Compétence mathématique (ทักษะทางคณิตศาสตร์) : module 1 (compter de 0 à 19 et calculer) module 4 (compter de 20 au– 69) 6 Traitement de l’information et compétence numérique (ความสามารถในการค้นคว้าหาข้อมูลสารสนเทศและการใช้ไอ ที) : module 0 (s’inscrire sur un site internet, épeler son adresse mél) module 1 (réaliser une enquête et publier les résultats sur un blog) module 2 (travailler avec un ordinateur, rechercher des informations sur internet) module 3 (écrire une annonce et y répondre) module 4 (chercher des informations sur un sportif) module 8 (envoyer une lettre sur un site internet) Se repérer dans le temps et dans l’espace (การบอกวัน-เวลาและสถานที่) : module 2 (les jours de la semaine) module 4 (découvrir le relief de la France) module 5 ( indiquer un itinéraire) module 6 (les mois de l’année, l’heure) module 7 (découvrir la francophonie, situer des villes ou des pays les uns par rapport aux autres) Autonomie et initiative personnelle (การพึ่งตนเองและมีความคิดริเริ่มของตนเอง) : module 3 (participer à un concousr) module 6 ( organiser une fête) module 8 ( créer un club <nature>) Compétence sociale et citoyenne (ทักษะทางสังคมและความเป็นพลเมืองดี) : module 4 (tolérence au handicapé) module 5 (respecter le code de la rue, qu’est-ce que le respect ?) module 8 (les vacances écolos, les animaux en voie de disparition, la biodiversité) Hygène et santé (สุขภาพและอนามัย) : module 4 (le sport c’est bon pour le corps) Compétence artistique (ทักษะทางศิลปะ) : module 3 (créer un vêtement, décrire un tableau, module 6 (créer un groupe de musique) เนื้อหาเหล่านี้ สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 อย่างเห็นได้ชัด Compétence apprendre à apprendre (ทักษะการเรียนรู้วิธีการเรียน): ชุดการเรียนการสอน Adosphère มี ลักษณะพิเศษคือ นําทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองมาฝึกอย่างจริงจัง สอดคล้องกับหลักการพัฒนาเยาวชนรุ่นใหม่และหลักสูตร ที่มุ่ง หมายในการสร้างพื้นฐานการเรียนรู้ด้วยตนเองจนเป็นนิสัยของเยาวชนไทย ผู้เขียนชุดการสอนนี้ จึงได้ให้แนวทางในการที่จะ นําไปสู่ยุทธศาสตร์การเรียนรู้ (acquérir des stratégies d’apprentissage) ให้นักเรียนค้นพบวิธีการเรียนที่จะทําให้จดจํา เรียนรู้สิ่งนั้นๆได้ง่ายขึ้น สรุปความคิดรวบยอดในการเรียนรู้ของตน (conceptualiser son apprentissage) มีแบบฝึกหัด apprendre à apprendre เช่น วิธีการสื่อสารในห้องเรียน(communiquer en classe), วิธีการจดจําคําศัพท์ใหม่ (mémoriser des mots nouveaux), วิธีการพูดในห้องเรียน (prendre la parole en classe) วิธีการทําความเข้าใจสื่อเสียง ภาษาฝรั่งเศสที่ฟัง (comprendre un document oral) วิธีการทําความเข้าใจเอกสารภาษาฝรั่งเศสที่อ่าน(comprendre un document écrit) วิธีการทําแบบฝึกที่บ้าน (faire ses excercices à la maison) ทําอย่างไรจึงจะไม่ลืมภาษาฝรั่งเศส ระหว่างปิดภาคเรียน (ne pas oublier le français pendant les vacances) 7 L’approche interdisciplinaire แนวการสอนแบบบูรณาการ Adosphère มีความสอดคล้องกับหลักสูตรฯ พุทธศักราช 2551 เป็นอย่างยิ่ง ในการนําเสนอการบูรณาการภาษา ฝรั่งเศสกับวิชาต่างๆในแต่ละโมดุลเช่นคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ภูมิศาสตร์ วาดภาพ ฯลฯ ถึงแม้ว่านักเรียนจะ ไม่ได้อยู่ในโรงเรียนสองภาษาที่สอนวิชาต่างๆเป็นภาษาฝรั่งเศส การได้ทําแบบฝึกหัดบูรณาการข้ามวิชาจะสร้าง แรงเสริมให้อยากรู้อยากเรียนจนค้นพบวิธีการปฎิบัติเฉพาะด้านของวิชานั้น (des savoirs-faire spécifiques) Le système d’évaluation (ระบบการประเมินผล) การประเมินผลใน Adosphère จัดอย่างเป็นระบบ เริ่มจาก หน้าแรกของแต่ละโมดุล ครูจะเป็นผู้ชี้ให้นักเรียนทําความเข้าใจกับ contrat d’apprentissage ซึ่งเป็น “สัญญา ทางการเรียน” ที่นักเรียนจะต้องสามารถปฏิบัติได้ เมื่อจบการเรียนบทเรียนนั้น ๆ สัญญานี้ถูกนําเสนอในแบบ objectifs fonctionnels การทําสัญญาการเรียนเช่นนี้ ทําให้นักเรียนต้องเป็นผู้แสดงบทบาทการเรียนของตนเอง (acteur de son apprentissage) และในตอนท้ายโมดุล จะมีหน้าการประเมินผล <évaluation> เพื่อทดสอบ ความรู้ที่ได้รับตามมาตรฐานของ DELF ความรู้ที่จะทดสอบแต่ละอย่างจะสัมพันธ์กับ objectifs fonctionnels ที่ ปรากฎใน contrat d’apprentissage (ในช่องซ้ายมือของแบบทดสอบ) นักเรียนจะนําผลการประเมินที่ได้ไป บันทึกในสมุดแบบฝึกหัดหน้า mon portfolio ซึ่งเป็นภาพเป ้ายิงปืน ตามคะแนนที่ได้รับ โดยระบายสีในวงสีแดง สีเหลือง สีเขียว สีเขียวจะอยู่ใกล้เป้าหมายมากที่สุด หากนักเรียนทําได้ถึงเป้านี้ เท่ากับประสบความสําเร็จตาม สัญญาที่ตั้งไว้ หากยังไม่สําเร็จในการเรียนรู้เรื่องใด ก็ต้องทําแบบฝึกหัดซ่อมเสริมเพื่อแก้ไขในเรื่องนั้น นอกจาก นี้ นักเรียนยังมีแบบฝึกหัดซ่อมเสริม 100 uploads/Management/ adosphere-module-0.pdf
Documents similaires
![](https://b3c3.c12.e2-4.dev/disserty/uploads/preview/9Tm0vd4L00EgCJU05DRan5XN73SdFMYXiBaKC7n4sYVICEVqHuXHlkzhgoFi5xGafU9iCO6ZHUEwCqMxmt26I6Pv.png)
![](https://b3c3.c12.e2-4.dev/disserty/uploads/preview/mBENcyqeGJW8FU2WaGge5mcDD7uyj2oIafyAyP5QVPw9ILWiCay4x68Rruclw0ylzyXaJac6eMqr2wfZZscmdZRa.png)
![](https://b3c3.c12.e2-4.dev/disserty/uploads/preview/Skwm0c4kJAXwIkKTLjKodhKtbVL1nWFCOr0EyzzMfGQQWVNDbddU1Q8jaaN9zFCF9HIP3hgI7U1k8cm2HXRyPzse.png)
![](https://b3c3.c12.e2-4.dev/disserty/uploads/preview/VBq3j0czGiDucyQWUP58lF8XiNyC52WHvU1bn5cOlidTOkt2gXRqVLqGtrh7CKDBxvh5Q0bFIxYPHVqNSh3cEtsz.png)
![](https://b3c3.c12.e2-4.dev/disserty/uploads/preview/Jtx1r4lHH0VaeLjWXWPTb865d8nxnKRV2Sb9Nm1CnVV0VmR9yLNZhTLIPkNXcBaryrADQCMCNLyIkRpg7u6SVavm.png)
![](https://b3c3.c12.e2-4.dev/disserty/uploads/preview/QCt0Tdch9hwzpA9WcR1MgHi8Y2xL3VgzqpHTsn8xfEuJjlGZbHbZpnYFeItOaMmiLweFOvAk4r2fni5mYXRUx0QQ.png)
![](https://b3c3.c12.e2-4.dev/disserty/uploads/preview/GKWZProTTmPOPWmPKPbPQnWwdOVH6H6SdSgnbToUVQ61dL1lOooWvoFmBKN3LjGMv5x6oN6BekrRz0NWaSCObTEz.png)
![](https://b3c3.c12.e2-4.dev/disserty/uploads/preview/9KIzuN20UykOUUjAljKH9ol5w9xJLYuIDnArsd2eeTrCEJQ8Fe3BUvShpAl5QF44U9R8RNpknnVbCYDe6sZcu7tm.png)
![](https://b3c3.c12.e2-4.dev/disserty/uploads/preview/z5uGMFREJeflgGdvnqKUrJq06XISDaWV1dj9ZgdEDNaRPZi0YxMdaO9kn89KTKK5X6bZNFfdZXct6ldlhJv3UPk4.png)
![](https://b3c3.c12.e2-4.dev/disserty/uploads/preview/DSFo3DRO6stqTmM4HGgFlIyZxFpuVly2wBTzjcZZsdpAcCHkeRJty9SYBjxIRS2nLo67asAR1WOpocxDw0CWhvQ0.png)
-
27
-
0
-
0
Licence et utilisation
Gratuit pour un usage personnel Attribution requise- Détails
- Publié le Jul 01, 2022
- Catégorie Management
- Langue French
- Taille du fichier 0.3941MB